วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปราสาทลุ่มแม่น้ำลัวร์ ซึ่งเป็นดินแดนที่มีความงามและความมั่งคั่งในหลายศตวรรษที่ผ่านมา ในสมัยก่อนบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของราชสำนักฝรั่งเศส, ที่อยู่ของข้าราชบริพาร และท่านเคานท์ผู้ต้องการจะก้าวขึ้นเป็นกษัตริย์



พิพิธภัณฑ์ลูฟว์ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดของประเทศ ด้านหน้ามีปิระมิดแก้วช่วยกระจายแสงไปยังสนามที่รายล้อมอยู่รอบด้านกับห้องที่อยู่เบื้องล่าง และทำ หน้าที่เป็นประตูทางเข้าของพิพิธภัณฑ์ เดิมที่นี่เป็นพระราชวังยุคศตวรรษที่ 13 และเป็นที่ประทับของกษัตริย์มาจนถึงในปี 1793 จึงถูกเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุด ในโลก รวบรวมสิ่งมีค่าหลายยุคหลายสมัย โดยเฉพาะภาพเขียนผลงานชั้นยอดประมาณ 6,000 ภาพ นับได้ว่ามากที่สุดในโลก หนึ่งในภาพนั้นคือ โมนาลิซ่า และภาพพระราชพิธีราชาภิเษกนโปเลียนขึ้นเป็น “จักรพรรดิ์” และยังมีงานแกะสลักอีกกว่า 2,000 ชิ้น ที่มีชื่อเสียงที่ สุดคือรูปแกะสลักหินอ่อนวีนัส
จากนั้นชมส่วนของอียิปต์โบราณแหล่งกำเนิดอารยธรรมเก่าแก่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาเกือบ 4,000 ปี ชมงานศิลปะล้ำค่าที่เป็นความภาคภูมิใจของพิพิธภัณฑ์ อาทิ มัมมี่ ซึ่งมีอายุหลายพันปีอยู่ในโลงที่เขียนด้วยลวดลาย สวยงาม แสดงถึงฐานะของศพนั้น
“อนุสรณ์สถานพิพิธภัณฑ์เพื่อสันติภาพ (Momorial de Caen) ซึ่งเก็บเรื่องราวเกี่ยวกับการรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยประวัติศาสตร์ของแคว้นนอร์มังดี มีอาคารกว่า 200,000 หลังถูกทำลาย ผู้คนเสียชีวิตนับแสน และการยกพลขึ้นบกในวันดี-เดย์ ตลอดจนเรื่องราวของผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพคนแรกจนถึงปัจจุบัน


มงแซงต์-มิเชล ศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป เทียบได้กับมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แห่งกรุงโรม สร้างมาหลายยุคหลายสมัยเปลี่ยนแปลงรูปแบบตลอดการสร้าง จน ค.ศ. 966 นักบวชนิกายเบเนดิกตีนจากวิหารแซ็ง-ว็องดรีย์ ได้สร้างโบสถ์และอาคารขึ้นใหม่เป็นอารามขนาดใหญ่ และมีการตั้งชื่อใหม่ว่ามงแซ็งต์-มิเชล ตัววิหารตั้งอยู่บนฐานหินแกรนิตขนาดใหญ่ สูงจากระดับน้ำทะเล 75 เมตร (250 ฟุต) จากนั้นมีการสร้างต่อเติมหลายยุคหลายสมัยที่แคว้นนอร์มังดีเรืองอำนาจและอิทธิพล ถึงที่สุด เป็นศาสนสถานสำหรับบำเพ็ญสมาธิและถือสันโดษมาตั้งแต่โบราณ องค์การยูเนสโก ประกาศให้เป็นมรดกโลกในปี 1979

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คำว่า เจ ในภาษาจีนทางพุทธศาสนานิกายมหายานมีความหมายเดียวกับคำว่า อุโบสถ ดังนั้นการกินเจก็คือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน เหมือนกับที่ชาวพุทธในประเทศไทยที่ถืออุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 โดยไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีลของชาวพุทธนิกายมหายานที่ไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมนำการไม่กินเนื้อสัตว์ไปรวมกันเข้ากับคำว่ากินเจ กลายเป็นการถือศีลกินเจ ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่ากินเจ ฉะนั้นความหมายก็คือคนกินเจมิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจ
ในภาษาจีนมี(กลุ่ม)คำหรือวลีที่ใช้อักษรแจ(เจ, 齋 / 斋 )เป็นตัวประกอบร่วมด้วยหลายคำ แต่คำว่าโป๊ยกวนแจไก่ (八關齋戒 ) ซึ่งเป็นศัพท์ของทางพุทธศาสนา ดูจะเป็นคำที่นิยมหยิบยกมาใช้อธิบายความหมายของอักษรแจเสมอมา
โป๊ยกวนแจไก่ (八關齋戒 ) แปลว่า ศีลบริสุทธิ์แปดประการ ซึ่งก็คือ “ศีลแปด”ที่เรารูจักกันดี
คนไทยในรุ่นปู่ย่าตายายที่เคร่งในศีลวัตรจะไปอาราธนาศีลแปดจากพระสงฆ์ในวันธรรมสวนะภายในพระอุโบสถ ศีลแปดจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า “ อุโบสถศีล ”
ผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องกินเจที่ไม่เข้าใจภาษาและที่มาของคำจึงแปลอักษรแจผิดว่า “อุโบสถ” ซึ่งคำแปลนี้ก็ฮิตติดตลาดและถูกคัดลอกไปใช้บ่อยอย่างน่ารำคาญใจ เพราะหากจะเอาตามความในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานแล้ว
อุโบสถ เป็นคำนาม หมายถึง สถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมกันทำสังฆกรรมต่างๆ เรียกย่อว่า โบสถ์
การแปลและเข้าใจคลาดเคลื่อนดังกล่าวยังถูกใช้เป็นบรรทัดฐานในการอธิบายวัตรปฏิบัติของการกินเจผิดตามไปด้วยว่า “การกินเจต้องถือศีลข้อวิกาลโภชน์” หรือการงดกินของขบเคี้ยวหลังเที่ยงวันไปแล้ว ซึ่งเป็นศีลข้อหนึ่งในศีลแปด ทั้งๆที่โรงครัวของศาลเจ้าหรือโรงเจที่เปิดเลี้ยงผู้คนในช่วงเทศกาลกินเจล้วนแต่มีอาหารมื้อเย็นให้กับผู้เข้าไปกิน ยิ่งวันที่มีการประกอบพิธีกรรมในตอนค่ำยังมีอาหารมื้อค่ำบริการเสริมให้เป็นพิเศษด้วย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะในช่วงเทศกาลกินเจนั้นเขาถือเพียงศีลห้าที่เป็นนิจศีล ไม่ได้ครองศีลแปดอย่างที่หลายคนเข้าใจ (เว้นแต่ผู้ตั้งจิตอธิษฐานว่าจะครองศีลแปดเป็นการส่วนตัวเท่านั้น)
ในทางอักษรศาสตร์จีน อักษรตัว “แจ” มีพัฒนาการมาจาก ตัวอักษร ฉี “ 齊 ” ซึ่งแปลว่าบริบูรณ์ , เรียบร้อย อักษรแจเกิดจากการเพิ่มเส้นตั้งและสองจุด ( 小 ) เข้าไปกลางอักษรฉี ทำให้เกิดตัว ซื ( 示 ) ซึ่งแปลว่าการสักการะ อยู่ในแก่นกลางของตัวฉี
แจ( 齋 ) จึงมีความหมายว่า การรักษาความบริสุทธิ์(ทั้งกายและใจ)เพื่อการสักการะ หรือ การปฏิบัติบูชาถวายเทพยดา
ซึ่งการอธิบายในแนวทางนี้จะสอดคล้องกับ คำว่า “ 齋醮 ” ในลัทธิเต๋า ซึ่งย่อมาจากคำว่า 供齋醮神 ที่แปลว่าการบำเพ็ญกายใจให้บริสุทธิ์เพื่อเป็นสักการะบูชาเทพยดา