สัตว์สงวน*
กูปรีหรือโคไพร (Bos sauveli)
ลักษณะ : กูปรีเป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับ กระทิงและวัวแดง เมื่อโตเต็มที่มีความสูงที่ไหล่ ๑.๗-๑.๙ เมตร น้ำหนัก ๗๐๐-๙๐๐ กิโลกรัม ตัวผู้มีขนาดลำตัวใหญ่กว่าตัวเมียมาก สีโดยทั่วไปเป็นสีเทาเข้มเกือบดำ ขาทั้ง ๔ มีถุงเท้าสีขาวเช่นเดียวกับกระทิง ในตัวผู้ที่มีอายุมาก จะมีเหนียงใต้คอยาวห้อยลงมาจนเกือบจะถึงดิน เขากูปรีตัวผู้กับตัวเมียจะแตกต่างกัน โดยเขาตัวผู้จะโค้งเป็นวงกว้าง แล้วตีวงโค้งไปข้างหน้า ปลายเขาแตกออกเป็นพู่คล้ายเส้นไม้กวาดแข็ง ตัวเมียมีเขาตีวงแคบแล้วม้วนขึ้นด้านบน ไม่มีพู่ที่ปลายเขา
อุปนิสัย : อยู่รวมกันเป็นฝูง ๒-๒๐ ตัว กินหญ้า ใบไม้ดินโป่งเป็นครั้งคราว ผสมพันธุ์ในราวเดือนเมษายน ตั้งท้องนาน ๙ เดือน จะพบออกลูกอ่อนประมาณเดือนธันวาคมและมกราคม ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว
ที่อยู่อาศัย : ปกติอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ที่มีทุ่งหญ้าสลับกับป่าเต็งรังและในป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างแล้ง
เขตแพร่กระจาย : กูปรีมีเขตแพร่กระจายอยู่ในไทย เวียดนาม ลาว และกัมพูชา
สถานภาพ : ประเทศไทยมีรายงานว่าพบกูปรีอยู่ตามแนวเทือกเขาชายแดนไทย-กัมพูชา และลาว เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ มีรายงานพบกูปรีในบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก กูปรีจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และอยู่ใน Appendix I ตามอนุสัญญา CITES
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : ปัจจุบันกูปรีเป็นสัตว์ป่าที่หายากกำลังใกล้จะสูญพันธุ์หมดไปจากโลก เนื่องจากการถูกล่าเป็นอาหารและสภาวะสงครามในแถบอินโดจีน ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยเฉพาะกูปรี ทำให้ยากในการอยู่ร่วมกันในการอนุรักษ์กูปรี
nannie'z supakiatmongkon
วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555
สัตว์สงวน*
กระซู่ (Dicerorhinus sumatrensis)
ลักษณะ : กระซู่เป็นสัตว์จำพวกเดียวกับแรด แต่มีลักษณะลำตัวเล็กกว่า ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ ๑-๑.๕ เมตร น้ำหนักประมาณ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม มีหนังหนาและมีขนขึ้นปกคลุมทั้งตัว โดยเฉพาะในตัวที่มีอายุน้อย ซึ่งขนจะลดน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น สีลำตัวโดยทั่วไปออกเป็นสีเทา คล้ายสีขี้เถ้า ด้านหลังลำตัว จะปรากฏรอยพับของหนังเพียงพับเดียว ตรงบริเวณด้านหลังของขาคู่หน้า กระซู่ทั้งสองเพศมีนอ ๒ นอ นอหน้ามีความยาวประมาณ ๒๕ เซนติเมตร ส่วนนอหลังมีความยาวไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร หรือเป็นเพียงตุ่มนูนขึ้นมาในตัวเมีย
อุปนิสัย : กระซู่ปีนเขาได้เก่ง มีประสาทรับกลิ่นดีมาก ออกหากินในเวลากลางคืน อาหาร ได้แก่ พวกใบไม้ และผลไม้ป่าบางชนิด ปกติกระซู่จะใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ หรือตัวเมียเลี้ยงลูกอ่อน ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว มีระยะตั้งท้อง ๗-๘ เดือน ในที่เลี้ยงกระซู่มีอายุยืน ๓๒ ปี
ที่อยู่อาศัย : กระซู่อาศัยอยู่ตามป่าเขาที่มีความหนารกทึบ ลงมาอยู่ในป่าที่ราบต่ำ ในตอนปลายฤดูฝนซึ่งในระยะนั้นมีปรักและน้ำอยู่ทั่วไป
เขตแพร่กระจาย : กระซู่มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย เวียดนาม มลายู สุมาตรา และบอเนียว ในประเทศไทยมีรายงานว่าพบกระซู่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหลายแห่งได้แก่ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี และคลองแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี และในบริเวณอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง ได้แก่ แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา และบริเวณป่ารอยต่อระหว่างประเทศกับมาเลเซีย
สถานภาพ : ปัจจุบันกระซู่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย อนุสัญญา CITES จัดไว้ใน Appendix I และ U.S. Endanger Species Act จัดไว้ในพวกที่ใกล้จะสูญพันธุ์
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : กระซู่ปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์ไปจากโลก เนื่องจากถูกล่าเพื่อเอานอ และอวัยวะทุกส่วนของตัว ซึ่งมีฤทธิ์ในทางเป็นยา กระซู่จึงถูกล่าอยู่เนืองๆ ประกอบกับกระซู่มีอยู่ในธรรมชาติน้อย และประชากรแต่ละกลุ่มและแม้แต่กลุ่มเดียวกันก็อยู่ห่างกันมากไม่มีโอกาสจับคู่ขยายพันธุ์ได้
กระซู่ (Dicerorhinus sumatrensis)
ลักษณะ : กระซู่เป็นสัตว์จำพวกเดียวกับแรด แต่มีลักษณะลำตัวเล็กกว่า ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ ๑-๑.๕ เมตร น้ำหนักประมาณ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม มีหนังหนาและมีขนขึ้นปกคลุมทั้งตัว โดยเฉพาะในตัวที่มีอายุน้อย ซึ่งขนจะลดน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น สีลำตัวโดยทั่วไปออกเป็นสีเทา คล้ายสีขี้เถ้า ด้านหลังลำตัว จะปรากฏรอยพับของหนังเพียงพับเดียว ตรงบริเวณด้านหลังของขาคู่หน้า กระซู่ทั้งสองเพศมีนอ ๒ นอ นอหน้ามีความยาวประมาณ ๒๕ เซนติเมตร ส่วนนอหลังมีความยาวไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร หรือเป็นเพียงตุ่มนูนขึ้นมาในตัวเมีย
อุปนิสัย : กระซู่ปีนเขาได้เก่ง มีประสาทรับกลิ่นดีมาก ออกหากินในเวลากลางคืน อาหาร ได้แก่ พวกใบไม้ และผลไม้ป่าบางชนิด ปกติกระซู่จะใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ หรือตัวเมียเลี้ยงลูกอ่อน ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว มีระยะตั้งท้อง ๗-๘ เดือน ในที่เลี้ยงกระซู่มีอายุยืน ๓๒ ปี
ที่อยู่อาศัย : กระซู่อาศัยอยู่ตามป่าเขาที่มีความหนารกทึบ ลงมาอยู่ในป่าที่ราบต่ำ ในตอนปลายฤดูฝนซึ่งในระยะนั้นมีปรักและน้ำอยู่ทั่วไป
เขตแพร่กระจาย : กระซู่มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย เวียดนาม มลายู สุมาตรา และบอเนียว ในประเทศไทยมีรายงานว่าพบกระซู่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหลายแห่งได้แก่ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี และคลองแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี และในบริเวณอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง ได้แก่ แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา และบริเวณป่ารอยต่อระหว่างประเทศกับมาเลเซีย
สถานภาพ : ปัจจุบันกระซู่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย อนุสัญญา CITES จัดไว้ใน Appendix I และ U.S. Endanger Species Act จัดไว้ในพวกที่ใกล้จะสูญพันธุ์
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : กระซู่ปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์ไปจากโลก เนื่องจากถูกล่าเพื่อเอานอ และอวัยวะทุกส่วนของตัว ซึ่งมีฤทธิ์ในทางเป็นยา กระซู่จึงถูกล่าอยู่เนืองๆ ประกอบกับกระซู่มีอยู่ในธรรมชาติน้อย และประชากรแต่ละกลุ่มและแม้แต่กลุ่มเดียวกันก็อยู่ห่างกันมากไม่มีโอกาสจับคู่ขยายพันธุ์ได้
สัตว์สงวน*
แรด (Rhinoceros sondaicus)
ลักษณะ : แรดจัดเป็นสัตว์จำพวกมีกีบ คือมีเล็บ ๓ เล็บทั้งเท้าหน้าและเท้าหลัง ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ ๑.๖-๑.๘ เมตร น้ำหนักตัว ๑,๕๐๐-๒,๐๐๐ กิโลกรัม แรดมีหนังหนาและมีขนแข็งขึ้นห่างๆ สีพื้นเป็นสีเทาออกดำ ส่วนหลังมีส่วนพับของหนัง ๓ รอย บริเวณหัวไหล่ด้านหลังของขาคู่หน้า และด้านหน้าของขาคู่หลัง แรดตัวผู้มีนอเดียวยาวไม่เกิน ๒๕ เซนติเมตร ส่วนตัวเมียจะเห็นเป็นเพียงปุ่มนูนขึ้นมา
อุปนิสัย : ในอดีตเคยพบแรดหากินร่วมเป็นฝูง แต่ในปัจจุบันแรดหากินตัวเดียวโดดๆ หรืออยู่เป็นคู่ในฤดูผสมพันธุ์ อาหารของแรดได้แก่ ยอดไม้ ใบไม้ กิ่งไม้ และผลไม้ที่ร่วงหล่นบนพื้นดิน แรดไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน จึงสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว ตั้งท่องนานประมาณ ๑๖ เดือน
ที่อยู่อาศัย: แรดอาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ หรือตามป่าทึบริมฝั่งทะเล ส่วนใหญ่จะหากินอยู่ตามพื้นที่ราบ ไม่ค่อยขึ้นบนภูเขาสูง
เขตแพร่กระจาย : แรดมีเขตกระจายตั้งแต่ประเทศบังคลาเทศ พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม ลงไปทางแหลมมลายู สุมาตรา และชวา ปัจจุบันพบน้อยมากจนกล่าวได้ว่า เกือบจะหมดไปจากผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชียแล้ว เชื่อว่ายังอาจจะมีคงเหลืออยู่บ้างทางเทือกเขาตะนาวศรี และในป่าลึกตามแนวรอยต่อจังหวัดระนอง พังงา และสุราษฎร์ธานี
สถานภาพ : ปัจจุบันแรดจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และจัดอยู่ใน Appendix 1 ของอนุสัญญา CITES ทั้งยังเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ตาม U.S.Endanger Species
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : เช่นเดียวกับแรดที่พบบริเวณอื่นๆ ที่พบในประเทศไทยถูกล่าและทำลายอย่างหนัก เพื่อต้องการนอหรือส่วนอื่นๆ เช่น กระดูก เลือด ฯลฯ ซึ่งมีคุณค่าสูงยิ่ง เพื่อใช้ในการบำรุงและยาอื่นๆ นอกจากนี้บริเวณป่าที่ราบที่แรดชอบอาศัยอยู่ก็หมดไป กลายเป็นบ้านเรือนและเกษตรกรรมจนหมด
แรด (Rhinoceros sondaicus)
ลักษณะ : แรดจัดเป็นสัตว์จำพวกมีกีบ คือมีเล็บ ๓ เล็บทั้งเท้าหน้าและเท้าหลัง ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ ๑.๖-๑.๘ เมตร น้ำหนักตัว ๑,๕๐๐-๒,๐๐๐ กิโลกรัม แรดมีหนังหนาและมีขนแข็งขึ้นห่างๆ สีพื้นเป็นสีเทาออกดำ ส่วนหลังมีส่วนพับของหนัง ๓ รอย บริเวณหัวไหล่ด้านหลังของขาคู่หน้า และด้านหน้าของขาคู่หลัง แรดตัวผู้มีนอเดียวยาวไม่เกิน ๒๕ เซนติเมตร ส่วนตัวเมียจะเห็นเป็นเพียงปุ่มนูนขึ้นมา
อุปนิสัย : ในอดีตเคยพบแรดหากินร่วมเป็นฝูง แต่ในปัจจุบันแรดหากินตัวเดียวโดดๆ หรืออยู่เป็นคู่ในฤดูผสมพันธุ์ อาหารของแรดได้แก่ ยอดไม้ ใบไม้ กิ่งไม้ และผลไม้ที่ร่วงหล่นบนพื้นดิน แรดไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน จึงสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว ตั้งท่องนานประมาณ ๑๖ เดือน
ที่อยู่อาศัย: แรดอาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ หรือตามป่าทึบริมฝั่งทะเล ส่วนใหญ่จะหากินอยู่ตามพื้นที่ราบ ไม่ค่อยขึ้นบนภูเขาสูง
เขตแพร่กระจาย : แรดมีเขตกระจายตั้งแต่ประเทศบังคลาเทศ พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม ลงไปทางแหลมมลายู สุมาตรา และชวา ปัจจุบันพบน้อยมากจนกล่าวได้ว่า เกือบจะหมดไปจากผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชียแล้ว เชื่อว่ายังอาจจะมีคงเหลืออยู่บ้างทางเทือกเขาตะนาวศรี และในป่าลึกตามแนวรอยต่อจังหวัดระนอง พังงา และสุราษฎร์ธานี
สถานภาพ : ปัจจุบันแรดจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และจัดอยู่ใน Appendix 1 ของอนุสัญญา CITES ทั้งยังเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ตาม U.S.Endanger Species
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : เช่นเดียวกับแรดที่พบบริเวณอื่นๆ ที่พบในประเทศไทยถูกล่าและทำลายอย่างหนัก เพื่อต้องการนอหรือส่วนอื่นๆ เช่น กระดูก เลือด ฯลฯ ซึ่งมีคุณค่าสูงยิ่ง เพื่อใช้ในการบำรุงและยาอื่นๆ นอกจากนี้บริเวณป่าที่ราบที่แรดชอบอาศัยอยู่ก็หมดไป กลายเป็นบ้านเรือนและเกษตรกรรมจนหมด
สัตว์สงวน*
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae)
ลักษณะ : นกนางแอ่นที่มีลำตัวยาว ๑๕ เซนติเมตร สีโดยทั่วไปมีสีดำเหลือบเขียวแกมฟ้า โคนหางมีแถบสีขาว ลักษณะเด่นได้แก่ มีวงสีขาวรอบตา ทำให้ดูมีดวงตาโปนโตออกมา จึงเรียกว่านกตาพอง นกที่โตเต็มวัย มีแกนขนหางคู่กลางยื่นยาวออกมา ๒ เส้น
อุปนิสัย : แหล่งผสมพันธุ์วางไข่ และที่อาศัยในฤดูร้อนยังไม่ทราบ ในบริเวณบึงบอระเพ็ด นกเจ้าหญิงสิรินธรจะเกาะนอน อยู่ในฝูงนกนางแอ่นชนิดอื่นๆ ที่เกาะอยู่ตามใบอ้อ และใบสนุ่นภายในบึงบอระเพ็ด บางครั้งก็พบอยู่ในกลุ่มนกกระจาบ และนกจาบปีกอ่อน กลุ่มนกเหล่านี้มีจำนวนนับพันตัว อาหารเชื่อได้ว่าได้แก่แมลงที่โฉบจับได้ในอากาศ
ที่อยู่อาศัย : อาศัยอยู่ตามดงอ้อและพืชน้ำในบริเวณบึงบอระเพ็ด
เขตแพร่กระจาย : พบเฉพาะในประเทศไทย พบในช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว
สถานภาพ : นกชนิดนี้สำรวจพบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ จังหวัดนครสวรรค์ หลังจากการค้นพบครั้งแรกแล้วมีรายงานพบอีก ๓ ครั้ง แต่มีเพียง ๖ ตัวเท่านั้น นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร เป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์: นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร เป็นนกที่สำคัญอย่างยิ่งในด้านการศึกษาความสัมพันธ์ของนกนางแอ่น เพราะนกชนิดที่มีความสัมพันธ์กับนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรมากที่สุด คือนกนางแอ่นคองโก ( Pseudochelidon euristomina ) ที่พบตามลำธารในประเทศซาอีร์ ในตอนกลางของแอฟริกาตะวันตก แหล่งที่พบนกทั้ง ๒ ชนิดนี้ห่างจากกันถึง ๑๐,๐๐๐ กิโลเมตร ประชากรในธรรมชาติของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเชื่อว่ามีอยู่น้อยมาก เพราะเป็นนกชนิดที่โบราณที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน แต่ละปีในฤดูหนาวจะถูกจับไปพร้อมๆกับนกนางแอ่นชนิดอื่น นอกจากนี้ที่พักนอนในฤดูหนาว คือ ดงอ้อ และพืชน้ำอื่นๆที่ถูกทำลายไปโดยการทำการประมง การเปลี่ยนหนองบึงเป็นนาข้าว และการควบคุมระดับน้ำในบึงเพื่อการพัฒนาหลายรูปแบบ สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดผลเสียต่อการคงอยู่ของพืชน้ำ และต่อนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรมาก
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae)
ลักษณะ : นกนางแอ่นที่มีลำตัวยาว ๑๕ เซนติเมตร สีโดยทั่วไปมีสีดำเหลือบเขียวแกมฟ้า โคนหางมีแถบสีขาว ลักษณะเด่นได้แก่ มีวงสีขาวรอบตา ทำให้ดูมีดวงตาโปนโตออกมา จึงเรียกว่านกตาพอง นกที่โตเต็มวัย มีแกนขนหางคู่กลางยื่นยาวออกมา ๒ เส้น
อุปนิสัย : แหล่งผสมพันธุ์วางไข่ และที่อาศัยในฤดูร้อนยังไม่ทราบ ในบริเวณบึงบอระเพ็ด นกเจ้าหญิงสิรินธรจะเกาะนอน อยู่ในฝูงนกนางแอ่นชนิดอื่นๆ ที่เกาะอยู่ตามใบอ้อ และใบสนุ่นภายในบึงบอระเพ็ด บางครั้งก็พบอยู่ในกลุ่มนกกระจาบ และนกจาบปีกอ่อน กลุ่มนกเหล่านี้มีจำนวนนับพันตัว อาหารเชื่อได้ว่าได้แก่แมลงที่โฉบจับได้ในอากาศ
ที่อยู่อาศัย : อาศัยอยู่ตามดงอ้อและพืชน้ำในบริเวณบึงบอระเพ็ด
เขตแพร่กระจาย : พบเฉพาะในประเทศไทย พบในช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว
สถานภาพ : นกชนิดนี้สำรวจพบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ จังหวัดนครสวรรค์ หลังจากการค้นพบครั้งแรกแล้วมีรายงานพบอีก ๓ ครั้ง แต่มีเพียง ๖ ตัวเท่านั้น นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร เป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์: นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร เป็นนกที่สำคัญอย่างยิ่งในด้านการศึกษาความสัมพันธ์ของนกนางแอ่น เพราะนกชนิดที่มีความสัมพันธ์กับนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรมากที่สุด คือนกนางแอ่นคองโก ( Pseudochelidon euristomina ) ที่พบตามลำธารในประเทศซาอีร์ ในตอนกลางของแอฟริกาตะวันตก แหล่งที่พบนกทั้ง ๒ ชนิดนี้ห่างจากกันถึง ๑๐,๐๐๐ กิโลเมตร ประชากรในธรรมชาติของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเชื่อว่ามีอยู่น้อยมาก เพราะเป็นนกชนิดที่โบราณที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน แต่ละปีในฤดูหนาวจะถูกจับไปพร้อมๆกับนกนางแอ่นชนิดอื่น นอกจากนี้ที่พักนอนในฤดูหนาว คือ ดงอ้อ และพืชน้ำอื่นๆที่ถูกทำลายไปโดยการทำการประมง การเปลี่ยนหนองบึงเป็นนาข้าว และการควบคุมระดับน้ำในบึงเพื่อการพัฒนาหลายรูปแบบ สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดผลเสียต่อการคงอยู่ของพืชน้ำ และต่อนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรมาก
วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555
มะเขือเทศ*
มะเขือเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lycopersicon esculuentum Mill.) เป็นพืชชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร มะเขือเทศขนาดปานกลางจะมีปริมาณวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอทั้งผล มะเขือเทศผลหนึ่งจะมีวิตามินเอราว 1 ใน 3 ของวิตามินเอที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีโปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด
มะเขือเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lycopersicon esculuentum Mill.) เป็นพืชชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร มะเขือเทศขนาดปานกลางจะมีปริมาณวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอทั้งผล มะเขือเทศผลหนึ่งจะมีวิตามินเอราว 1 ใน 3 ของวิตามินเอที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีโปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด
COLUMBUS*
Christopher Columbus (c. 31 October 1451 – 20 May 1506) was an explorer, colonizer, and navigator, born in the Republic of Genoa, in what is today northwestern Italy. Under the auspices of the Catholic Monarchs of Spain, he completed four voyages across the Atlantic Ocean that led to general European awareness of the American continents in the Western Hemisphere. Those voyages, and his efforts to establish permanent settlements in the island of Hispaniola, initiated the process of Spanish colonization, which foreshadowed the general European colonization of the "New World".In the context of emerging western imperialism and economic competition between European kingdoms seeking wealth through the establishment of trade routes and colonies, Columbus' far-fetched proposal to reach the East Indies by sailing westward received the support of the Spanish crown, which saw in it a promise, however remote, of gaining the upper hand over rival powers in the contest for the lucrative spice trade with Asia. During his first voyage in 1492, instead of reaching Japan as he had intended, Columbus landed in the Bahamas archipelago, at a locale he named San Salvador. Over the course of three more voyages, Columbus visited the Greater and Lesser Antilles, as well as the Caribbean coast of Colombia, Venezuela and Central America, claiming them for the Spanish Empire.Though Columbus was not the first European explorer to reach the Americas (having been preceded by the Norse expedition led by Leif Ericson[6]), Columbus' voyages led to the first lasting European contact with America, inaugurating a period of European exploration and colonization of foreign lands that lasted for several centuries. They had, therefore, an enormous impact in the historical development of the modern Western world. Columbus himself saw his accomplishments primarily in the light of the spreading of the Christian religion.Never admitting that he had reached a continent previously unknown to Europeans, rather than the East Indies he had set out for, Columbus called the inhabitants of the lands he visited indios (Spanish for "Indians").Columbus' strained relationship with the Spanish crown and its appointed colonial administrators in America led to his arrest and dismissal as governor of the settlements in Hispaniola in 1500, and later to protracted litigation over the benefits which Columbus and his heirs claimed were owed to them by the crown.
Christopher Columbus (c. 31 October 1451 – 20 May 1506) was an explorer, colonizer, and navigator, born in the Republic of Genoa, in what is today northwestern Italy. Under the auspices of the Catholic Monarchs of Spain, he completed four voyages across the Atlantic Ocean that led to general European awareness of the American continents in the Western Hemisphere. Those voyages, and his efforts to establish permanent settlements in the island of Hispaniola, initiated the process of Spanish colonization, which foreshadowed the general European colonization of the "New World".In the context of emerging western imperialism and economic competition between European kingdoms seeking wealth through the establishment of trade routes and colonies, Columbus' far-fetched proposal to reach the East Indies by sailing westward received the support of the Spanish crown, which saw in it a promise, however remote, of gaining the upper hand over rival powers in the contest for the lucrative spice trade with Asia. During his first voyage in 1492, instead of reaching Japan as he had intended, Columbus landed in the Bahamas archipelago, at a locale he named San Salvador. Over the course of three more voyages, Columbus visited the Greater and Lesser Antilles, as well as the Caribbean coast of Colombia, Venezuela and Central America, claiming them for the Spanish Empire.Though Columbus was not the first European explorer to reach the Americas (having been preceded by the Norse expedition led by Leif Ericson[6]), Columbus' voyages led to the first lasting European contact with America, inaugurating a period of European exploration and colonization of foreign lands that lasted for several centuries. They had, therefore, an enormous impact in the historical development of the modern Western world. Columbus himself saw his accomplishments primarily in the light of the spreading of the Christian religion.Never admitting that he had reached a continent previously unknown to Europeans, rather than the East Indies he had set out for, Columbus called the inhabitants of the lands he visited indios (Spanish for "Indians").Columbus' strained relationship with the Spanish crown and its appointed colonial administrators in America led to his arrest and dismissal as governor of the settlements in Hispaniola in 1500, and later to protracted litigation over the benefits which Columbus and his heirs claimed were owed to them by the crown.
วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
PEANUT BUTTER MUFFIN*
(มัฟฟินเนยถั่ว)*
ส่วนผสม
ครีมเนยถั่วลิสง ¼ ถ้วย
แครอท ขูดเป็นเส้นเล็กๆ ½ ถ้วยตวง
ฟักทอง ขูดเป็นเส้นเล็กๆ ½ ถ้วยตวง
น้ำตาลทรายแดง ½ ถ้วย
เนย (เนยนิ่ม) 2 ช้อนโต๊ะ
ไข่ขาว 2 ฟอง (อุณหภูมิห้อง)
โยเกิร์ต ½ ถ้วย
แป้งอเนกประสงค์ 1 ถ้วย
ผงฟู 1 ช้อนชา
เบกิ้งโซดา 1 ช้อนชา
เกลือ ¼ ช้อนชา
เนย (เนยนิ่ม) ทาพิมพ์มัฟฟิน
วิธีทำ
1. เปิดเตาอบอุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส เตรียมพิมพ์มัฟฟิน และใช้แปรงทาเนยบางๆ ที่พิมพ์
2. นำชามใหญ่ใส่ครีมเนยถั่วลิสง แครอท ฟักทอง น้ำตาลทรายแดง เนยสด ใช้ไม้พายคนส่วนผสมให้เข้ากัน หลังจากนั้น ใส่ไข่ขาวและโยเกิร์ต คนให้เข้ากันอีกครั้ง
3. ร่อนแป้ง ผงฟู เบกิ้งโซดา เกลือ ใส่ในชามในข้อ 1 คนส่วนผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน
4. ตักส่วนผสมใส่ในพิมพ์มัฟฟิน ประมาณ ¾ ของพิมพ์ นำเข้าเตาอบ อบประมาณ 15 นาที (Test ว่ามัฟฟินสุกหรือยัง โดยใช้ไม้จิ้มฟัน จิ้มไปที่ตรงกลางของมัฟฟิน ถ้าไม่มีเนื้อมัฟฟินติดมากับไม้จิ้มฟัน แสดงว่าสุกแล้ว)
5. เมื่อสุกแล้ว นำมัฟฟินออกมาจากพิมพ์ วางบนตะแกรงให้มัฟฟินเย็น เสิร์ฟกับแยมราสเบอร์รี่ หรือแยมสตอว์เบอร์รี่ ตามชอบ…
คุณค่าทางโภชนาการ
ครีมถั่วลิสง เป็นแหล่งของสารอาหารประเภทโปรตีน ช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ มีกรดอะมิโนครบทั้ง 9 ชนิด อุดมด้วยวิตามิน B ช่วยเรื่องระบบประสาทและความจำ และมีกรดโฟลิค ซึ่งมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตเซลล์สมองเด็ก
ฟักทอง มีวิตามินเอสูง รวมทั้งฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามิน แถมยังเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในเนื้อสีเหลืองของฟักทอง ช่วยชะลอความชรา ป้องกันโรคผิวหนัง บรรเทาอาการปวดเมื่อย
แครอท ในแครอทมีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา บำรุงผิวหนังและเส้นผมให้มีสุขภาพดี อีกทั้งยังมีสารเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง ขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอล
(มัฟฟินเนยถั่ว)*
ส่วนผสม
ครีมเนยถั่วลิสง ¼ ถ้วย
แครอท ขูดเป็นเส้นเล็กๆ ½ ถ้วยตวง
ฟักทอง ขูดเป็นเส้นเล็กๆ ½ ถ้วยตวง
น้ำตาลทรายแดง ½ ถ้วย
เนย (เนยนิ่ม) 2 ช้อนโต๊ะ
ไข่ขาว 2 ฟอง (อุณหภูมิห้อง)
โยเกิร์ต ½ ถ้วย
แป้งอเนกประสงค์ 1 ถ้วย
ผงฟู 1 ช้อนชา
เบกิ้งโซดา 1 ช้อนชา
เกลือ ¼ ช้อนชา
เนย (เนยนิ่ม) ทาพิมพ์มัฟฟิน
วิธีทำ
1. เปิดเตาอบอุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส เตรียมพิมพ์มัฟฟิน และใช้แปรงทาเนยบางๆ ที่พิมพ์
2. นำชามใหญ่ใส่ครีมเนยถั่วลิสง แครอท ฟักทอง น้ำตาลทรายแดง เนยสด ใช้ไม้พายคนส่วนผสมให้เข้ากัน หลังจากนั้น ใส่ไข่ขาวและโยเกิร์ต คนให้เข้ากันอีกครั้ง
3. ร่อนแป้ง ผงฟู เบกิ้งโซดา เกลือ ใส่ในชามในข้อ 1 คนส่วนผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน
4. ตักส่วนผสมใส่ในพิมพ์มัฟฟิน ประมาณ ¾ ของพิมพ์ นำเข้าเตาอบ อบประมาณ 15 นาที (Test ว่ามัฟฟินสุกหรือยัง โดยใช้ไม้จิ้มฟัน จิ้มไปที่ตรงกลางของมัฟฟิน ถ้าไม่มีเนื้อมัฟฟินติดมากับไม้จิ้มฟัน แสดงว่าสุกแล้ว)
5. เมื่อสุกแล้ว นำมัฟฟินออกมาจากพิมพ์ วางบนตะแกรงให้มัฟฟินเย็น เสิร์ฟกับแยมราสเบอร์รี่ หรือแยมสตอว์เบอร์รี่ ตามชอบ…
คุณค่าทางโภชนาการ
ครีมถั่วลิสง เป็นแหล่งของสารอาหารประเภทโปรตีน ช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ มีกรดอะมิโนครบทั้ง 9 ชนิด อุดมด้วยวิตามิน B ช่วยเรื่องระบบประสาทและความจำ และมีกรดโฟลิค ซึ่งมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตเซลล์สมองเด็ก
ฟักทอง มีวิตามินเอสูง รวมทั้งฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามิน แถมยังเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในเนื้อสีเหลืองของฟักทอง ช่วยชะลอความชรา ป้องกันโรคผิวหนัง บรรเทาอาการปวดเมื่อย
แครอท ในแครอทมีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา บำรุงผิวหนังและเส้นผมให้มีสุขภาพดี อีกทั้งยังมีสารเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง ขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอล
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)